ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการศึกษาแอ่งตะกอนและบรรพชีวินวิทยาประยุกต์
Excellence Center in Basin Studies and Applied Paleontology

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาวิจัยประเภท องค์ประกอบ สภาพแวดล้อมบรรพกาล และวิวัฒนาการแอ่งตะกอน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2.เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านบรรพชีวินวิทยา ซากดึกดำบรรพ์ และทรัพยากรธรณีของแอ่งสะสมตะกอน

3.เพื่อประยุกต์ใช้ข้อมูลบรรพชีวินวิทยาและแอ่งสะสมตะกอนด้านวิชาการ ด้านการสำรวจทรัพยากรธรณี รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาด้านอุตสาหกรรม

หลักการและเหตุผล

ข้อมูลด้านบรรพชีวินวิทยา ซากดึกดำบรรพ์ สภาพแวดล้อมบรรพกาล รวมถึงทรัพยากรธรณีอันมีคุณค่าหลากหลายชนิด เช่น ปิโตรเลียม แร่ เกลือหิน ถ่านหิน ดินและหินอุตสาหกรรม สะสมตัวอยู่ในแอ่งตะกอน การมีองค์ความรู้และความเข้าใจอันถ่องแท้ถึงรูปแบบการเกิดแอ่ง รูปทรง องค์ประกอบ สภาพแวดล้อม และวิวัฒนาการแอ่งตะกอน ทำให้สามารถสร้างแผนที่และโมเดลแอ่ง ประกอบการสำรวจเพื่อการวิเคราะห์หาแหล่งทรัพยากรรวมถึงการวางแผนการอนุรักษ์

คณะวิจัยหลักประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาจากศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และหน่วยงานภายนอกประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีฟิสิกส์ จากภาควิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และด้านธรณีวิทยาการลำดับชั้นหินและอุทยานธรณี จากสำนักงานทรัพยากรธรณีธรณี เขต 2 (ขอนแก่น) กรมทรัพยากรธรณี รวมถึงหน่วยงานด้านธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยา จาก Nanjing Institute of Geology and Palaeontology, Chinese Academy of Sciences และ School of Earth Sciences and Engineering, Sun Yat-sen University สาธารณะรัฐประชาชนจีน เป็นคณะกรรมการหลักในการก่อตั้งศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางครั้งนี้  โดยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์คุณภาพสูงระดับนานาชาติรวมมากกว่า 50 ผลงาน ในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา นอกจากนี้ของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางยังได้มีนโยบายสร้างเครือข่ายภาคอุตสาหกรรมระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมขับเคลื่อนการดำเนินการของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางในอนาคต สนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาด้านอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Excellence Center in Basin Studies and Applied Paleontology

Palaeontology

  • Micropalaeontology
  • Palaleozoology
  • Palaeobotany

Dr. Hathaithip Thassanapak
Dr. Clive Burrett
Dr. Bouziane Khalloufi
Dr. Haiyan Tong
Dr. Eric Buffetaut
Dr. Passakorn Bunchalee

Academic, industry and public relations

  • MoU and partnership
  • Conference and meeting
  • Product and service
  • Website and social media

Dr. Mongkol Udchaochon
Dr. Padsakorn Bunchalee
Dr. Hathaithip Thassanapak

Basin evolution

  • Stratigraphy and sedimentology
  • Geotectonics and geophysics
  • Modelling and application

Dr. Mongkol Udchachon
Dr. Clive Burrett
Dr. Xin Qian
Dr. Jitao Chen
Dr. Pradit Nulay
Dr. Rungroj Arjwech

Partner universities and institutes

  • Palaeontological Research and Education Centre, Mahasarakham University
  • Department of Geotechnology, Khon Kaen University
  • The Royal Thai Department of Mineral Resources
  • The French National Centre for Scientific Research
  • State Key Laboratory of Palaeobiology and Stratigraphy, Nanjing Institute of Geology and Palaeontology, Chinese Academy of Sciences, China
  • Guangdong Provincial Key Lab of Geodynamics and Geohazards, School of Earth Sciences and Engineering, Sun Yat-sen University, Guangzhou, China

งานประชุม UNESCO Project IGCP-700 Palaeozoic Carbonate Build-ups in South East Asia

Screenshot_1

งานประชุมวิชาการบรรพชีวินวิทยานานาชาติ ครั้งที่ 6 (The 6th International Palaeontological Congress)

Screenshot_2