ประวัติความเป็นมา
ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2545 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 โดยได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคามให้จัดตั้งศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยาขึ้น เพื่อจุดประสงค์ในการวิจัยและ ค้นคว้าซากดึกดำบรรพ์อันเป็นมรดกอันล้ำค่า ของประเทศไทยและถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้นั้นไปสู่แหล่งชุมชนเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อสาธารณชน ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ได้มีการแต่งตั้งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยาคนแรก คือ Dr.Eric Buffetaut ผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์จากประเทศฝรั่งเศส และเป็นผู้ดำเนินการวิจัยด้านนี้ภายใต้ความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศส ร่วมกับ ดร. วราวุธ สุธีธร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยและศึกษาบรรพชีวินวิทยา ได้ร่วมกับกรมทรัพยากร ธรณีและผู้เชี่ยวชาญทางด้านบรรพชีวินวิทยาจากประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์และ เดนมาร์ก ดำเนินการวิจัยและออก ภาคสนามทั่วพื้นที่ประเทศไทย เพื่อทำการสำรวจ ขุดค้นและเก็บรวบรวมตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ นอกจากนี้ทาง ศูนย์วิจัยและศึกษาบรรพชีวินวิทยายังผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก หลักสูตรสาขาบรรพชีวินวิทยา (นานาชาติ ) ภายใต้การดูแลของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยมุ่งหวังที่จะขยายผลการศึกษาวิจัยด้านบรรพชีวินวิทยาในประเทศไทย และมุ่งผลิตบุคลากรที่มีประสิทธิภาพทาง ด้าน บรรพชีวินวิทยาให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศไทย
” ผู้มีปัญญา พึงอยู่เพื่อมหาชน (พหูนํ ปณฑิโต ชีเว)”
” บรรพชีวินวิทยา ศาสตร์สากลของไทย ทางเลือกใหม่ของการศึกษาและวิจัย “
” ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหนึ่งในศูนย์วิจัยศึกษาด้านบรรพชีวินวิทยาหลักของประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มุ่งมั่นแสวงหาความเป็นเลิศทางการวิจัยและการศึกษาพร้อมกับประสานงานและร่วมมือกับนักวิจัยละองค์กรต่างประเทศ เกี่ยวกับซากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์สัมพันธ์กับธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อม “
– ผลิต ส่งเสริม และเผยแพร่งานวิจัย ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
– เป็นศูนย์รวมนักวิจัยด้านบรรพชีวินในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านบรรพชีวินวิทยาในระดับสากล
-ถ่ายทอดและพัฒนาความรู้ด้านบรรพชีวินวิทยาให้แก่ชุมชน เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้อย่างยั่งยืนของประเทศ
1. งานวิจัย
1.1 ให้บริการห้องปฏิบัติการด้านบรรพชีวินวิทยา ได้แก่
1.1.1 สตูดิโอถ่ายภาพตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์
1.1.2 ห้องปฏิบัติการซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็ก (ห้องตัดหิน)
1.1.3 ห้องปฏิบัติการซากดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่
1.2 วิทยากรให้ความรู้ด้านบรรพชีวินวิทยา
1.3 ให้คำปรึกษาด้านการจัดนิทรรศการ
1.4 ให้บริการด้านการศึกษาและเปรียบเทียบตัวอย่างในงานวิจัยด้านบรรพชีวินวิทยา
1.5 ให้คำแนะนำด้านการเขียนบทความวิชาการด้านบรรพชีวินวิทยา
1.6 ให้บริการยืมอุปกรณ์ภาคสนามด้านบรรพชีวินวิทยา
2. งานบริการวิชาการ
2.1 จัดกิจกรรมบริการวิชาการแก่สังคมให้แก่สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.2 จัดนิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านบรรพชีวินวิทยา
2.3 ให้บริการยืม-คืนหนังสือด้านบรรพชีวินวิทยา
2.4 ให้บริการพื้นที่เพื่อการเรียนการสอนด้านบรรพชีวินวิทยาและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.5 ให้บริการยืม-คืนตัวอย่างสำหรับจัดแสดงนิทรรศการด้านบรรพชีวินวิทยา
2.6 ให้เข้าเยี่ยมชมส่วนจัดแสดงของหน่วยงาน
ที่ตั้ง ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อาคารกลุ่มวิจัยและปฏิบัติการ ชั้น 1 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย
จังหวัดมหาสารคาม 44150 โทรศัพท์/โทรสาร 043-754373 เบอร์ภายใน 1739, 1737, 1731
เว๊บไซต์ www.prc.msu.ac.th