ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มมส. สานต่อความร่วมมือ Nanjing Institute of Geology and Paleontology (NIGPAS), Chinese Academy of Sciences

ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สานต่อความร่วมมือ Nanjing Institute of Geology and Paleontology (NIGPAS),
Chinese Academy of Sciences

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร. อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วิจัยและนวัตกรรม และรองศาสตราจารย์ ดร.มงคล อุดชาชน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา ร่วมประชุมความร่วมมืองานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และบรรพชีวินกับ Nanjing Institute of Geology and Paleontology (NIGPAS), Chinese Academy of Sciences ซึ่งเป็นสถาบันคู่สัญญามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ณ Nanjing Institute of Geology and Paleontology (NIGPAS) เมืองหนานจิง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ การทำงานร่วมกัน และแบ่งปันผลงานวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนในการสร้างโครงการวิจัยร่วมกันในอนาคต

ในการนี้คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ร่วมประชุมหารือความร่วมมือทางวิชาการและวิจัย ร่วมกับ Institute of Vertebrate Paleontology and Paleoanthropology (IVPP) เมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการที่ยั่งยืนและเป็นประโยชน์ร่วมกัน ถือเป็นการกระตุ้นสร้างการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญทั้งสองฝ่าย และคาดหวังว่าจะส่งผลดีต่อการก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และด้านบรรพชีวิน

สำหรับการเดินทางไปเยือนในครั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MoU) กับสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สำนักงานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน (Nanjing Institute of Geology and Palaeontology, Chinese Academy of Sciences) ณ อาคาร China Hall of Science and Technology (CHST) กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อแลกเปลี่ยน นักวิจัยและนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาระหว่างหน่วยงาน การตีพิมพ์ผลงานวิจัย การแลกเปลี่ยนซากดึกดำบรรพ์และวัตถุจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ รวมถึงการเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงานประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ

มีแกลลอรี่ไม่เลือกหรือแกลเลอรีที่ถูกลบ

Comments are closed.