ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มมส. ได้จัดกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
ระหว่างวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องนิทรรศการ ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันที่ 22-23 กรกฎาคม 2566 ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา ได้จัดกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม โดยมี ดร.ชลวิทย์ ทองเจริญชัยกิจ นักวิชาการ อพวช. ศูนย์บริหารตัวอย่างทางธรรมชาติวิทยาและสัตว์สตัฟฟ์ (ศธ.) สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา (สพธ.) เป็นวิทยากรโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ในการอบรมครั้งนี้ เป็นการจำแนกกะโหลกและฟันเลี้ยงลูกด้วยนมขั้นพื้นฐาน สำหรับนิสิต อาจารย์ และบุคคลทั่วไปที่สนใจในการเรียนรู้โครงกระดูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเบื้องต้น โดยเน้นถึงความสำคัญของคอลเลคชั่นกะโหลกและฟันของพิพิธภัณฑ์ในฐานะตัวอย่างอ้างอิงและดัชนีเปรียบเทียบเพื่อการศึกษาวิจัยครอบคลุมในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ สะกิด Skull (กะโหลกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) เรื่องของ”เขา”ที่เราควรรู้ (Horn & Antler) ผองเราและพงศ์เผ่าวานร (Primate Classification & Human Evolution) ฟัน Fact (ฟันสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) และกิจกรรมผ่าก้อนสำรอกของนกแสก (Owl Pellet Dissection) เพื่อเรียนรู้ถึงกระดูกส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่อยู่ถัดมาจากกะโหลก (Post-cranial skeleton)
โดยผู้ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้หรือประยุกต์เพื่อต่อยอดการศึกษาวิจัยทั้งทางด้านโบราณสัตววิทยา บรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลัง นิติวิทยาสัตว์ป่า บรรพมานุษยวิทยา และนิติมานุษยวิทยา เป็นต้น

มีแกลลอรี่ไม่เลือกหรือแกลเลอรีที่ถูกลบ

Comments are closed.