ต้นกำเนิดสายเพรียงหัวหอม เป็นพวกที่อาศัยอยู่ติดพื้น

ต้นกำเนิดสายเพรียงหัวหอม เป็นพวกที่อาศัยอยู่ติดพื้น

สัตว์กลุ่มเพรียงหัวหอม tunicates หรือ urochordates เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง และมีความใกล้ชิดกับสัตว์กลุ่ม vertebrates มีลักษณะเฉพาะคือ การมีส่วนที่เรียกว่า cellulosic extracellular matrix หรือ tunic รอบร่างกาย ปัจจุบันมีมากกว่า 3000 ชนิด มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป

โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ ascidiaceans หรือที่ทั่วไปเรียกว่า เพรียงหัวหอม ที่ช่วงแรกของชีวิตมีรูปร่างคล้ายลูกอ๊อดและเคลื่อนที่ได้ จากนั้นเมื่อเข้าสู่ตัวเต็มวัยจะเปลี่ยนแปลงเป็นรูปร่างที่มีลักษณะคล้ายถัง (barrel-shaped) และอยู่ติดกับพื้นทะเล เคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งตรงข้ามกับอีกกลุ่ม คือ appendicularians ซึ่งจะยังคงรูปร่างคล้ายลูกอ๊อดไปจนถึงตัวเต็มวัย และว่ายน้ำอย่างอิสระ

ในงานวิจัยนี้ คณะวิจัยศึกษาฟอสซิลของสัตว์กลุ่มนี้ โดยมีชื่อชนิดใหม่ว่า Megasiphon thylakos อายุราว 500 ล้านปี จากยุคแคมเบรียนตอนกลาง (Drumian) หมวดหิน Marjum Formation รัฐ Utah, สหรัฐอเมริกา และพบว่ามันมีรูปร่างแบบพวกกลุ่ม ascidiaceans (barrel-shaped) ในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ตั้งสมมติฐานได้ว่ากลุ่ม ascidiaceans อาจเป็นต้นกำเนิดของสายเพรียงหัวหอมในปัจจุบัน และช่วยบ่งบอกถึงองค์ประกอบรูปลักษณ์ร่างกายของเพรียงหัวหอมในปัจจุบันว่า เริ่มกำเนิดมาตั้งแต่ช่วงยุคแคมเบรียนแล้ว

ขณะเดียวกัน Megasiphon thylakos ซึ่งคาดว่าเป็นต้นกำเนิดกลุ่ม ascidiaceans ดังกล่าว มีอายุ 500 ล้านปี ซึ่งเก่าแก่กว่า ข้อมูลทางชีวโมเลกุล ที่บ่งบอกว่ากลุ่ม ascidiaceans นี้กำเนิดเมื่อราว 450 ล้านปีก่อนค่ะ

Abstract

Tunicates are an evolutionarily significant subphylum of marine chordates, with their phylogenetic position as the sister-group to Vertebrata making them key to unraveling our own deep time origin. Tunicates greatly vary with regards to morphology, ecology, and life cycle, but little is known about the early evolution of the group, e.g. whether their last common ancestor lived freely in the water column or attached to the seafloor. Additionally, tunicates have a poor fossil record, which includes only one taxon with preserved soft-tissues. Here we describe Megasiphon thylakos nov., a 500-million-year-old tunicate from the Marjum Formation of Utah, which features a barrel-shaped body with two long siphons and prominent longitudinal muscles. The ascidiacean-like body of this new species suggests two alternative hypotheses for early tunicate evolution. The most likely scenario posits M. thylakos belongs to stem-group Tunicata, suggesting that a biphasic life cycle, with a planktonic larva and a sessile epibenthic adult, is ancestral for this entire subphylum. Alternatively, a position within the crown-group indicates that the divergence between appendicularians and all other tunicates occurred 50 million years earlier than currently estimated based on molecular clocks. Ultimately, M. thylakos demonstrates that fundamental components of the modern tunicate body plan were already established shortly after the Cambrian Explosion.

Nanglu, K., Lerosey-Aubril, R., Weaver, J.C. et al. A mid-Cambrian tunicate and the deep origin of the ascidiacean body plan. Nat Commun 14, 3832 (2023). https://doi.org/10.1038/s41467-023-39012-4

#ascidiaceans #tunicates #Megasiphonthylakos

Comments are closed.