ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา และคณะวิทยาศาสตร์ มมส. จัดโครงการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ IGCP-700

ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วยหน่วยงานเครือข่ายภายในประเทศและต่างประเทศ
ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการโครงการธรณีศาสตร์และอุทยานธรณีระหว่างประเทศ (IGCP)
ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO)

ในการร่วมมือจัดกิจกรรมโครงการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ IGCP-700: Palaeozoic Carbonate build-ups in South East Asia ต่อเนื่อง 5 ปี ระหว่าง ค.ศ. 2021-2025
โดยมีแผนการจัดกิจกรรม ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 13 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ณ จังหวัดเลย และพื้นที่ข้างเคียง

ตามวัตถุประสงค์หลักเพื่อรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลพืดหินปูนปะการังและซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคพาลีโอโซอิกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิจัยและการวางแผนการใช้ประโยชน์แหล่งหินปูนด้านอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวเชิงอุทยานธรณีของเทือกเขาหินปูนอย่างยั่งยืนในอนาคต
และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการและการศึกษาของเครือข่ายนานาชาติ

ในวันที่ 14-15 ธันวาคม 2564 เวลา 08.00 น. – 16.00 น. เดินทางออกภาคสนาม ณ แหล่งการสำรวจภาคสนาม จำนวน 10 จุด ได้แก่
สถานที่ 1 : Lower carboniferous sequence and depositional environment
สถานที่ 2 : Lower carboniferous shallow marine sequence
สถานที่ 3 : Lower carboniferous turbidite; evidence
สถานที่ 4 : Middle Devonian Reet and Upper Devonian-Lower carboniferous radiolarian chert sequences
สถานที่ 5 : Late carboniferous-Early Permian mudstore with interbedded limestone
สถานที่ 6 : Stromatolite and other features of peritidal-supratidal environment during Late carboniferous-Early Permian
สถานที่ 7 : Upper part of the Lower Permian at the E-lert reservoir
สถานที่ 8 : Lower Permian carbonate turbidite/allodapic limestone sequences
สถานที่ 9 : Middle Permian limestone underlying Late Triassic deposits
และสถานที่ 10 : Early to Middle Permian limestone

มีแกลลอรี่ไม่เลือกหรือแกลเลอรีที่ถูกลบ

Comments are closed.