โครงการค่ายบรรพชีวินวิทยาและธรณีวิทยา โรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา วันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2562 จัดโดย ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์สิรินธร จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับนักเรียนในด้านบรรพชีวินวิทยาและธรณีวิทยาของประเทศไทย เรียนรู้ผ่านกระบวนการทำจริง สัมผัสจริง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นครูจำนวน 6 คน นักเรียน 77 คน วิทยากรและเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยาและพิพิธภัณฑ์สิรินธร จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้นกว่า 98 คน และได้รับเกียรติจากโดย รองศาสตราจารย์มงคล อุดชาชน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมค่ายในครั้งนี้ ซึ่งจัดทั้งสิ้น 3 วัน 2 คืน และกิจกรรมโครงการประกอบด้วย วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 ช่วงเช้า กิจกรรมบรรยายเรื่องธรณีวิทยา และไดโนเสาร์ไทย ช่วงบ่าย กิจกรรมฐานหินแร่/ฐานแผนที่/ฐานการขุดค้นและการอนุรักษ์ตัวอย่าง โดย เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร และฐานการเกิดซากดึกดำบรรพ์ โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา กิจกรรมในช่วงเย็นเป็นกิจกรรม Night at the Museum เล่มเกมส์เสริมจินตนาการให้กับนักเรียน หากโรงเรียนไหนสนใจต้องการให้จัดกิจกรรมเรียนรู้ด้านบรรพชีวินวิทยาและธรณีวิทยาในรูปแบบประสบการณ์ตรงและเรียนรู้จากนักบรรพชีวินวิทยาและนักธรณีวิทยา สนใจติดต่อฝ่ายบริการวิชาการได้โดยตรงที่ สิริภา พงษ์แสงทอง (พี่อ้อม) เบอร์โทรศัพท์ 088-5717247 หรือ Line ID : Siripaka พร้อมการออกแบบกิจกรรมให้ตรงตามความต้องการของโรงเรียน แล้วพบกันนะคะ “พี่อ้อม รายงาน”
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 ช่วงเช้า กิจกรรมภาคสนาม ณ แหล่งขุดค้นภูน้อย อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการเดินสำรวจค้นหาซากดึกดำบรรพ์ด้วยตาเปล่า และแบ่งเป็น 4 ฐานกิจกรรม ได้แก่ ฐานธรณีวิทยาภูน้อย ฐานกระบวนการขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ ฐานประวัติการขุดค้น และฐานแหล่งเรียนรู้ภูน้อย หลังจากนั้นเดินทางต่อไปยังแหล่งรอยตีน ณ วนอุทยานภูแฝก อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนกิจกรรมในช่วงเย็นเป็นกิจกรรมสันทนาการ เป่ายิงฉุบวิวัฒนาการ
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2562 ช่วงเช้าเป็นการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สิรินธรตามอัธยาศัย และการสรุปกิจกรรมเป็นรายกลุ่ม