จัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านซากดึกดำบรรพ์และธรณีวิทยา พื้นที่อำเภอปากชม จังหวัดเลย

 

ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา ร่วมกับ กรมทรัพยากรธรณี
จัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านซากดึกดำบรรพ์และธรณีวิทยา พื้นที่อำเภอปากชม จังหวัดเลย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ใหม่ด้านการศึกษาและการท่องเที่ยว
(โดยบูรณาการกับโครงการวิจัย เรื่อง วิวัฒนาการแอ่งสะสมตะกอนและการวิเคราะห์รูปลักษณ์ กลุ่มชีวินดึกดำบรรพ์ ยุคดีโวเนียนตอนกลางถึงยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนต้นตามแนวคดโค้งเลยฯ)

เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.มงคล อุดชาชน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา ร่วมกับ กรมทรัพยากรธรณี คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ได้จัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านซากดึกดำบรรพ์และธรณีวิทยา พื้นที่อำเภอปากชม จังหวัดเลย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ใหม่ด้านการศึกษาและการท่องเที่ยว โดยบูรณาการกับโครงการวิจัย เรื่อง วิวัฒนาการแอ่งสะสมตะกอนและการวิเคราะห์รูปลักษณ์ กลุ่มชีวินดึกดำบรรพ์ ยุคดีโวเนียนตอนกลางถึงยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนต้นตามแนวคดโค้งเลยฯ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ใหม่ด้านการศึกษาและการท่องเที่ยว โดยมีวิทยากรบรรยายให้ความรู้ด้านซากดึกดำบรรพ์และธรณีวิทยา และกิจกรรม จำนวน 6 ท่าน คือ รองศาสตราจารย์ ดร.มงคล อุดชาชน ผู้อำนวยการศูนย์ฯ บรรยายความสำคัญของซากดึกดำบรรพ์และธรณีวิทยาของพื้นที่/ดร.ประดิษฐ์ นูเล นักธรณีชำนาญการ สำนักทรัพยากรธรณีเขต 2 (ขอนแก่น) บรรยายเรื่อง การพัฒนาแหล่งซากดึกดำบรรพ์และธรณีวิทยาตามแนวทางอุทยานธรณี/นายปรีชา สายทอง บรรยายเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551 และแนวทางการส่งเสริม แหล่งเรียนรู้ นายเสกสรร เฉิดรัศมี เจ้าที่วิจัยศูนย์ฯ และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดฐานกิจกรรมทั้ง 3 ได้แก่

1.ฐานหินและแร่
2.ฐานการเกิดซากดึกดำบรรพ์
3.ฐานการขุดค้นและอนุรัก์ตัวอย่าง

มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 90 คน และได้มีการสรุปกิจกรรมและมอบของที่ระลึก ซึ่งกิจกรรมที่จัดในวันนี้มีความสนุกสนาน และได้รับความรู้มากมายจากการทำกิจกรรมในวันนี้อีกด้วย

มีแกลลอรี่ไม่เลือกหรือแกลเลอรีที่ถูกลบ

Comments are closed.