ผศ.ดร.ภาสกร บุญชาลี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และอาจารย์ภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยนายเสกสรร เฉิดรัศมี ผู้ช่วยนักวิจัยของศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา ได้ออกสำรวจพื้นที่วัดภูเขาทอง บ้านภูเขาทอง ตำบลคำพอง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

 

ผศ.ดร.ภาสกร บุญชาลี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มมส. และอาจารย์ภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยนายเสกสรร เฉิดรัศมี ผู้ช่วยนักวิจัยของศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา ได้ออกสำรวจพื้นที่วัดภูเขาทอง บ้านภูเขาทอง ตำบลคำพอง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่  7 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.ภาสกร บุญชาลี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และอาจารย์ภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยนายเสกสรร เฉิดรัศมี ผู้ช่วยนักวิจัยของศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา ได้ออกสำรวจพื้นที่วัดภูเขาทอง บ้านภูเขาทอง ตำบลคำพอง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งขณะที่กำลังทำการสำรวจตามเส้นทางเดินธรรมชาตินั้น นายเสกสรรได้สังเกตเหตุเห็นโครงสร้างที่มีลักษณะเฉพาะปรากฏเด่นชัดบนแผ่นหินครอบคลุมพื้นที่ราว 35 ตารางเมตร เมื่อทำการศึกษาเบื้องต้นพบว่าร่องรอยดังกล่าวเป็นของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นทรายในยุคบรรพกาล และมีความน่าสนใจอย่างมากเนื่องจากปากรูถูกรักษาสภาพอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมีโอกาสพบได้น้อยกว่าลักษณะของรูที่อยู่ใต้ดิน โดยบริเวณที่พบมีร่องรอยรูดึกดำบรรพ์จำนวนมากกว่า 100 รู และมีขนาดแตกต่างกัน โดยรวมโครงสร้างทั้งหมดของรูมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 6-8 เซนติเมตร ปากรูมีขนาด 1.5-2.5 เซนติเมตร และมีขอบรูยกตัวเป็นสันนูนกว้าง 2-2.5 เซนติเมตร การค้นพบครั้งนี้จะนำไปสู่การศึกษาด้านซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย (Palaeoichnology) และเป็นข้อมูลที่จะเผยให้เห็นถึงธรณีประวัติของพื้นที่ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญทางด้านธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยา และควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้ในการอนุรักษ์และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคตต่อไป ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบจึงได้มีการเรียกลานหินที่พบซากดึกดำบรรพ์ร่องรอยนี้ว่า “ลานหินเสกสรร” ซึ่งชื่อดังกล่าวยังมีความหมายถึงลานหินที่มีความสวยงามทั้งที่เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ ที่ทำให้หินมีรอยแตกเป็นห้าแฉก และที่สำคัญคือมีซากดึกดำบรรพ์ร่องรอยที่มีความสมบูรณ์อย่างมาก

 

มีแกลลอรี่ไม่เลือกหรือแกลเลอรีที่ถูกลบ

Comments are closed.